วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด 2ภาษา

                                                                เล่นเท่ากับเรียน

    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบุนนาก ตำบลหนองบุนนาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่รับนักเรียน ตั้งแต่อายุ2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ 11 เดือน และดิฉันเป็นครูประจำชั้นประถมวัย 1 ซึ่งมี เด็กอายุตั้งแต่ 2 ความครึ่งถึง 3 ขวบมีเด็กนักเรียนทั้งหมดในห้องจำนวน 30 คนครู 1 คน
    ในธรรมชาติของเด็ก ในวัยนี้จะคิดแต่สนุก อยากเล่น ไม่อยากเรียน คุณครูจึงหาวิธีให้ดิกดิกเกิดความสนุกในการเรียนทำให้การเรียนเป็นสิ่งที่สนุก  อยากเรียนรู้มากยิ่งขึ้น โดยมีการจัดกิจกรรมและมุมต่างๆ ในห้องเรียนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เช่นการเล่นดินน้ำมันโดยนั่งเป็นวงกลมทำให้เด็กมีพัฒนาการ ทางด้านสังคมมากยิ่งขึ้น และคุณครูมีการบูรณาการสิ่งที่ต้องการให้เด็กเด็กได้เรียนรู้ให้เข้ากับกิจกรรมการเล่นของเด็ก     ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ด้วยการแสดงออก การเล่นภายใต้การดูแลช่วยเหลือของครู ซึ่งเป็นวิธีการที่ครูนำเอาธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน การเล่นเป็นกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน เป็นกิจกรรมที่ทำโดยไม่ต้องถูกบังคับ การเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งการเล่นมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้ แก่ การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและการคิด การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กและสังคม การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์ การเล่นของเด็กปฐมวัยมีทั้งการเล่นที่มีกฎกติกาหรือเรียกว่า เกม ที่มีการแข่งขันเพื่อการแพ้ชนะ กับการเล่นที่ไม่มีกฎกติกาที่ผู้เล่นจินตนาการการเล่นอย่างอิสระ การเล่นเพื่อการค้นคว้า เป็นการเล่นที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทดลองหรือหยิบจับ ตรวจสอบสิ่งต่าง ๆที่อยู่รอบตัว เนื่องจากเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นทำให้เด็กได้เรียนรู้รูปร่าง ขนาด ความละเอียดของวัตถุ ความแตกต่างของเสียง สังเกตความแก่ อ่อนของสี เป็นต้นการเล่นที่ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะทางมือ เป็นการเล่นที่เด็กนำสิ่งของต่างๆนำมาประกอบเป็นของเล่นอย่างง่ายได้การกระทำนั้น ทำให้เด็กได้รับความสุขความพอใจการเล่นเป็นตัวละครหรือจินตนาการ เป็นการเล่นเลียนแบบจากสิ่งที่เห็นในชีวิตประจำวัน
Play equals learning
    Child Development Centre, Ministry of Nong Bunnak. Nong Bunnak Nong Bun Nakhon Ratchasima A child development center at students aged 2 years and a half to three years and 11 months, and I was a classroom teacher, elementary age, one in which there are children, aged 2 and a half to three years old, have children in the room were 30 teachers, one people.
    The nature of the child In this age would think it's fun to play, so I do not want teachers to find ways to make it fun to learn Digby Digby Make learning fun stuff. Want to learn more The activities and various angles. In the classroom and learning activities, such as playing plasticine by the children sit in a circle develops. More social And teachers are integrating things like a child learning to play activities of children. Which promotes learning action. With Expression Playing under the care of teachers. This is how the teacher took the child's nature enthusiasts already come to good use in teaching. The play is an activity that makes sense enjoyment the activity without being forced. The play is the child's physical development, emotional, social and intellectual, which is playing a key element was the third player to lead to the discovery of reason and thought. Playing as a link between the child and society. The play is bringing children into the state balance. The play of young children are playing with the rules or that the game is a competition to win. A game that has no rules of fantasy players to play freely. Play for research Was the children to use the senses to experiment or handling. Check things That's around Because children are very inquisitive children learn shapes, sizes, resolution of the object. The difference in sound Noting the light of paint to play a creative and skilled hands. Was the child brings items attributed a simple toy that action. The children have been happy to play a character or a pleasant fantasy. A play by imitating what they see on a daily basis.






































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น